|
ชลบุรี จังหวัดชายทะเลที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ
มากที่สุด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียงแค่ประมาณ 80 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย
ผืนดินและแผ่นน้ำอุดมด้วยทรัพยากร แร่ธาตุ มีธรรมชาติ หาดทรายที่สวยงาม
อากาศดี ทำให้ชลบุรีเป็นเมืองแห่งการพักผ่อนตากอากาศ ศูนย์กลางการพัฒนาในภาคตะวันออก
ทั้งการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ประมงและธุรกิจท่องเที่ยว ที่ยังคงงดงามด้วยวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
อาหารของกินพื้นบ้าน สร้างสีสันเสน่ห์แก่เมืองชายฝั่งทะเลแห่งนี้
|
|
|
พื้นที่กว้างใหญ่เกือบ
3 ล้านไร่ของชลบุรีประกอบด้วยภูมิประเทศที่หลากหลาย ที่ราบลุ่มผืนใหญ่ทางตอนเหนือแถบอำเภอพานทอง
พนัสนิคม คือแหล่งปลูกข้าวและพืชผักที่สำคัญ พื้นที่ตอนกลางตั้งแต่อำเภอเมืองชลบุรี
บ้านบึง บางส่วนของศรีราชา หนองใหญ่ และบ่อทอง คือแหล่งปศุสัตว์สำคัญ
มีเทือกเขาทอดตัวในแนวตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ 3 เทือก
ขนานกันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งแร่ทองคำและแร่พลวง ที่ราบเชิงเขาเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
คือ อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และไม้ผล เช่น มะพร้าว สับปะรด ขนุน
ชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกว่า
160 กิโลเมตร ทางด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นแหล่งประมงน้ำเค็มสำคัญในภาคตะวันออก
โดยเฉพาะกุ้งและปลาหมึก ตามชายฝั่งมีการเพาะเลี้ยงปลากะพง ปลากะรัง
กุ้งกุลาดำ หอยแมลงภู่ หอยกะพง และหอยนางรม ส่วนบริเวณอ่าวไผ่และอ่าวอุดม
อำเภอศรีราชา มีภูเขาติดชายฝั่งทะเล ท้องทะเลลึกไม่มีตะกอน เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
และนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ห่างฝั่งทะเลออกไปในท้องทะเลมีเกาะน้อยใหญ่รวม
46 เกาะ ช่วยกำบังคลื่นลม เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะสีชัง เกาะคราม เกาะแสมสาร
เกาะล้าน เกาะไผ่ เป็นแหล่งประมงและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเช่นเดียวกับชายหาดหลายแห่ง
เช่น หาดบางแสน หาดพัทยา ที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมมาช้านาน ประกอบกับภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน
ทำให้อากาศอบอุ่นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การพักผ่อนตากอากาศ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากมายเข้ามาเยือน
ทำรายได้จำนวนมหาศาลเข้าสู่จังหวัด ปัจจุบันชลบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น
10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ สำหรับพัทยามีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ
เรียกว่า "เมืองพัทยา" แยกออกจากการปกครองของอำเภอบางละมุง
เมืองชลบุรีได้รับการยกฐานะเป็น "จังหวัดชลบุรี" มีผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองดูแลตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 เป็นต้นมา ปัจจุบันชลบุรีเปรียบเสมือน "เมืองหลวงแห่งภาคตะวันออก" สืบเนื่องจากการสร้าง "ถนนสุขุมวิท" จนถึงการพัฒนาครั้งสำคัญในโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524-2543 ทำให้ตัวเมืองชลบุรีเป็นแหล่งศึกษาและที่อยู่อาศัย แหลมฉบัง คือ เมืองท่าสมัยใหม่ของประเทศศูนย์กลางอุตสาหกรรม เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญควบคู่ไปกับศูนย์กลางการพาณิชย์และธุรกิจการค้าและสัตหีบเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือไทย
คนเมืองชล มีหลากหลายทั้งไทย จีน ลาว ไทยมุสลิม และชาวยุโรป เข้ามาตั้งถิ่นฐานผสมผสานกับคนไทย พื้นถิ่นแถบอำเภอพนัสนิคม บ้านบึง พานทอง บ่อทอง และหนองใหญ่ เป็นย่านชุมชนเกษตรกรรมทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ผลิตและส่งพืชพันธุ์ธัญญหารออกมาหล่อเลี้ยงชุมชนอื่นๆ มีบุคลิกลักษณะแบบเกษตรกรทั่วไปที่อดทน ขยัน ประหยัด ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย เมื่อถึงคราวเทศกาลงานบุญก็ไปร่วมกันทำบุญ ตักบาตร ทำงานหัตถกรรมจักสานในเวลาว่าง ส่วนชุมชนประมง ตั้งอยู่ติดทะเลแถบอำเภอเมืองชลบุรี ศรีราชา เกาะสีชัง บางละมุง และสัตหีบเป็นประตูรับอารยธรรมจากภายนอกส่งผ่านไปยังชุมชนเกษตรกรรมที่อยู่เบื้องหลัง และการที่ต้องผจญกับความไม่แน่นอนของธรรมชาติคลื่นลมในท้องทะเล แสงแดดที่แผดเผา ทำให้มีบุคลิกแบบคนน้ำเค็มที่เข้มแข็ง เป็นคนจริง พูดจริงทำจริง ใจนักเลง เสียงดัง ตรงไปตรงมา กล้าได้กล้าเสีย มีน้ำใจ ไม่ค่อยแต่งตัว แต่มีรสนิยมในการกิน ชุมชนเหล่านี้ช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยกัน มีการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณี อาหารการกินเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่พัทยาเป็นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในย่านนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (เข้าใจถิ่น เข้าใจเที่ยว ชลบุรี : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
|
|
ชื่อ "ชลบุรี"
ปรากฏหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเป็นเมืองเล็กๆ หลายเมืองได้แก่
เมืองบางทราย เมืองบางปลาสร้อย และเมืองบางพระ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่
5 จึงได้รวมเมืองเล็กๆ ดังกล่าวเข้าเป็นจังหวัดชื่อ "ชลบุรี"
จนถึงปัจจุบันนี้
ชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
ตามเส้นทางสายบางนา-ตราด เป็นระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงมาช้านาน
ยังเป็นแหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย มีการทำนา
ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ทำสวนมะพร้าว ทำสวนยางพารา ทำการประมงน้ำลึกและน้ำตื้น
และอุตสาหกรรมโรงงาน
ชลบุรี มีพื้นที่จำนวน
2,726,875 ไร่ หรือ 4,363 ตารางกิโลเมตร
ชลบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น
10 อำเภอและ 1 กิ่งอำเภอ คือ อ.เมืองชลบุรี, อ.บ้านบึง, อ.หนองใหญ่,
อ.พนัสนิคม, อ.พานทอง, อ.บ่อทอง, อ.ศรีราชา, อ.บางละมุง, อ.สัตหีบ,
อ.เกาะสีชัง และกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ มี 92 ตำบล 679 หมู่บ้าน 26 เทศบาล
1 เมืองพัทยา และ 75 องค์การบริหารส่วนตำบล
การเมือง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
7 คน และสมาชิกวุฒิสภา 3 คน
|
|
|
24 กม. |
|
56 กม. |
|
48 กม. |
|
14 กม. |
|
84 กม. |
|
51 กม. |
|
20 กม. |
|
39 กม. |
|
22 กม. |
|
48 กม. |
|
429113, 427667 |
|
274200-5 |
|
425440 |
|
273840-5 |
|
392001 |
|
324111-9 |
|
274402 |
|
770200 |
|
199 |
|
322157-9 |
|
381072 |
|
311561 |
|
278661 |
|
391671-3 |
|
278960-70 |
|
296556 |
|
390352 |
|
282778 |
การเดินทาง เส้นทางถนน
เส้นทางถนนสายต่างๆ
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงและกรมโยธาธิการประกอบด้วยทางหลวงแผ่นดิน
โดยมีเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 เป็นถนนสายหลัก ซึ่งเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ
ผ่านอำเภอเมืองชลบุรี เลียบชายฝั่งทะเลจนถึงอำเภอสัตหีบสำหรับทางหลวงแผ่นดินสายรอง
มี 8 สาย ได้แก่
1.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 สายบางละมุง - ระยอง
2.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 สายอำเภอเมืองชลบุรี - พนัสนิคม
3.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 สายสัตหีบ - ฉะเชิงเทรา
4.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 332 สายสัตหีบ - ระยอง
5.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 สายชลบุรี - อำเภอแกลง
6.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ - ชลบุรี และสายชลบุรี พัทยา
7.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา - ชลบุรี
8.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - ตราด
นอกจากนี้จังหวัดชลบุรียังมีเส้นทางหลวงจังหวัดอีก
23 สาย ทางชนบท และทางหลวงอื่นๆ รวมทั้งทางด่วนพิเศษกรุงเทพฯ - ชลบุรี
(สายบูรพาวิถี)
รถยนต์โดยสาร
ออกจากสถานีขนส่งเอกมัย ถนนสุขุมวิท พระโขนง กรุงเทพฯ
รถธรรมดา กรุงเทพฯ
- ชลบุรี เที่ยวแรกออกเวลา 05:00 น. และทุกๆ 20 นาที เที่ยวสุดท้ายเวลา
21:00 น.
รถปรับอากาศ
(0-2391-2504) เที่ยวแรกเวลา 05:20 น. และทุกๆ 30 นาที เที่ยวสุดท้าย
22:30 น.
รถธรรมดา กรุงเทพฯ
- พัทยา เที่ยวแรกเวลา 03:00 น. และทุกๆ 20 นาที เที่ยวสุดท้าย 18:00
น.
รถปรับอากาศ
(0-2712-3928) เที่ยวแรกออกเวลา 05:20 น. และทุกๆ 30 นาที เที่ยวสุดท้าย
21:00 น.
รถยนต์โดยสาร
ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 (0-2936-4041)
รถปรับอากาศ
เที่ยวแรก ออกเวลา 05:30 น. เที่ยวสุดท้าย 20:30 น.
รถไฟ ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ
(หัวลำโพง) วันละ 1 เที่ยว เวลา 07:00 น. ผ่านฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา
สิ้นสุดที่สถานีพลูตาหลวง เที่ยวกลับออกเวลา 13:00 น.
ที่มา : เอกสารเผยแพร่
โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเศรษฐกิจสังคมจังหวัดชลบุรี งบฯ กรอ.จังหวัด
จัดทำโดย : สำนักงานจังหวัดชลบุรี
ฝ่ายข้อมูลและติดตามประเมินผล
Design by
Kanyapak McManus : CSJOY.COM
CSJOY.COM
WEBBOARD-กระดานสนทนา
Copyright(c) by
CSJOY.COM, All rights reserved.
Identification Number of DBD Thailand 0207314801370